Search
Close this search box.
โรคซึมเศร้า

SOS! 7 สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะ ‘โรคซึมเศร้า’

เราค่อนข้างเชื่อว่าหลายคนซ่อนความเปราะบางไว้ในส่วนลึกของจิตใจ อันเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า

Helena จึงอยากชวนสาว ๆ มาลองสังเกตตัวเอง และคนรอบข้างที่ซ่อนบาดแผลทางใจ (Trauma) จากสัญญาณเตือนที่เค้าเหล่านี้พยายามส่งต่อให้เราได้รับรู้ความรู้สึกจากอาการบาดเจ็บนั้น ที่ถ้าไหวตัวทัน เราจะได้ป้องกันการสูญเสียได้อย่างทันท่วงที

I’m in TRAUMA, and it’s got me sick

โรคซึมเศร้า

Trauma (ทรอม่า) คืออาการที่เกิดจากบาดแผลทางใจ อาการ Trauma ที่ทำให้สภาพจิตใจเปลี่ยนไปนั้น เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นสารเคมีที่ส่งผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ เราขอเรียบเรียงอย่างง่ายว่า เมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่เรารับมือไม่ได้ มันจะมีผลกระทบต่อสมองในส่วนของความคิด อันเป็นเหตุให้เกิดความเศร้า ต่อเนื่องไปถึงการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ที่ทำให้เรารู้สึกจม ไม่มีแรงลุก กลายเป็นความเครียดที่แก้ไม่ได้ จนเข้าสู่สภาวะวิตกกังวล และพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้า

ถ้าให้ลงลึกรายละเอียด คงต้องต่ออีกยาว เราขอแนะนำให้คุณรู้จักคร่าว ๆ กับประเภทของ Trauma ดังนี้

โรคซึมเศร้า

Single Trauma คือการที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ประสบ ‘เหตุการณ์หนึ่ง’ ที่ส่งผลอย่างหนักต่อจิตใจในระยะยาว อย่างการเผชิญหน้ากับสึนามิ หรือเป็นหนึ่งในผู้ประสบเหตุกราดยิงโคราช

Complex Trauma คล้ายกับ Single Trauma แต่ต่างที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประสบกับเหตุการณ์นั้น ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ยาวนานติดกันในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น อย่างเช่น คนที่เห็นความรุนแรงในครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก หรือถูกทำร้ายร่างกายอย่างยาวนาน จนกลายเป็นบาดแผลทางจิตใจ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการ Trauma ทั้งแบบ Single และ Complex จะเกิดอาการรวน ทั้งความคิด   ความรู้สึก ประสาทสัมผัส และอื่น ๆ เค้าจะไม่สามารถจบความรู้สึกตัวเองได้ และเริ่มรู้สึกว่าโลกใบนี้ช่างไม่น่าอยู่ ไม่ปลอดภัย และสิ้นหวังเหลือเกิน

แม้ในปัจจุบัน โรคซึมเศร้าจะเป็นสิ่งที่เปิดกว้างแล้วในสังคม และสามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติ แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็ต้องทนกับอาการข้างเคียงจากการรับยา หรือคำพิพากษาจากคนอื่น ๆ ในสังคม ที่ยังขาดความเข้าใจในโรคซึมเศร้า

Helena จึงอยากชวนสาว ๆ ลองใช้ใจฟังพวกเค้าก่อนที่จะสายเกินแก้ จากสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าดังต่อไปนี้

โรคซึมเศร้า

1. Negative Thinking 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีความคิดที่เป็นด้านลบตลอดเวลา รู้สึกจิตใจห่อเหี่ยว ไร้ค่า ไร้ตัวตน มองโลกในแง่ร้าย ไม่รู้สึกว่าการมีอยู่ของตัวเองมีความหมาย คิดว่าการตายเท่านั้น ที่จะทำให้หลุดพ้นจากความเจ็บปวดนี้

โรคซึมเศร้า

2. กลัวการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างการเปลี่ยนที่ทำงาน เปลี่ยนสังคมแบบฉับพลัน ในคนที่ปรับตัวไม่ได้ อาจเกิดภาวะโรคซึมเศร้า ทำให้รู้สึกไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม อ่อนเพลียตลอดเวลา ทำงานช้าลง คุณภาพงานแย่ ลังเลในการตัดสินใจ ตลอดจนไม่มีสมาธิ

โรคซึมเศร้า

3. ร่างกายส่งเสียงเตือน

อาการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางกายที่เห็นได้อย่างเด่นชัดของโรคซึมเศร้า เช่น ปวดศีรษะ จนไม่อยากทำอะไรต่อ ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวแย่ลง หรือรอบเดือนมาผิดปกติ เจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคซึมเศร้า

4. อารมณ์สวิงแปรปรวน

โรคซึมเศร้าทำให้อารมณ์ไม่คงที่ มีความกังวล กระวนกระวายใจตลอดเวลา ฉุนเฉียว หรือโกรธง่าย    พร้อมระเบิดได้ตลอดเวลา ถ้าอยู่คนเดียวก็อาจจะจิตตก รู้สึกเคว้งคว้าง อยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ เป็นต้น

โรคซึมเศร้า

5. หน่ายใจกับสิ่งที่เคยเป็น

ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า สามารถสังเกตตัวเองได้ว่า สิ่งที่เคยสนใจ หรือสิ่งที่เคยชอบทำนั้นไม่น่าสนใจอีกต่อไป รู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำอะไรที่เคยทำในชีวิตประจำวัน

โรคซึมเศร้า

6. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป

หลายคนจะมีความรู้สึกไม่อยากอาหารจนน้ำหนักลดลงในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในบางรายอาจกินมากกว่าปกติ จนน้ำหนักพุ่ง

โรคซึมเศร้า

7. Sleepless Society

ตบเท้าเข้าสมาคมคนนอนน้อยได้เลย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนจะนอนหลับยากขึ้น มีการตื่นกลางดึก   แล้วหลับต่อไม่ได้ ง่วงบ่อยขึ้น หรือรู้สึกง่วงจนทนไม่ไหว แต่ก็ไม่สามารถข่มตากลับได้

Helena อยากให้สาว ๆ หมั่นสังเกตตัวเองและคนรอบข้างเป็นประจำว่า มีอาการที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้า อาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรือใช้เวลา 1 ถึง 2 เดือนในการแสดงอาการ ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ได้เผชิญมากระทบกับใจรุนแรงแค่ไหน แต่มั่นใจได้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า จะเปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอนจนสังเกตได้ เป็นต้นว่า เรื่องง่าย ๆ ก็สามารถกระทบจิตใจจนร้องไห้ออกมา อยู่ ๆ ก็ขี้ลืมขึ้นมาเสียอย่างนั้น คนที่มั่นใจในตนเองสูงปรี๊ด ก็อาจจะกลายเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวกว่าเดิม พูดน้อยลง หรือในรายที่ Performance  ในการทำงานดีมาโดยตลอด กลับกลายเป็นคนทำงานเช้าชามเย็นชาม

ถึงแม้เจ้าโรคซึมเศร้าจะรักษาจนหายขาดได้ แต่ถ้าเรารู้ตัวแต่เนิ่น ๆ การรับมือกับมันก็จะง่ายขึ้น แค่เราลองใส่ใจรายละเอียดส่วนตัวของกันและกันสักนิด เราอาจช่วยชีวิตคน ๆ หนึ่งที่กำลังจะจมน้ำได้เลยน

SHARE

RELATED POSTS