มะเร็งเต้านม

2 เต้าเฝ้าระวัง อาการ ‘มะเร็งเต้านม’ ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

สาว ๆ ทราบกันไหมว่า ‘โรคมะเร็งเต้านม’ (Breast Cancer) เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่มีความเสี่ยงมาเป็นอันดับ 1 สำหรับมะเร็งในผู้หญิงเลยนะคะ แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกันไป เพราะหากผู้หญิงอย่างเรารู้จักสังเกตอาการ หรือความผิดปกติที่เป็นสัญญาณเตือนถึงมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาก็สามารถหายได้ Helena เลยอยากจะชวนให้สาว ๆ หมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองกันไว้หน่อย ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเราจะได้รู้ตัวได้ทันเวลาว่าเข้าข่ายเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่…

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

อาการมะเร็งเต้านม แม้ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สามารถเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งมีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือควบคุมได้ และปัจจัยเสี่ยงที่นอกเหนือจากการควบคุม ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

  • ไลฟ์สไตล์ รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น การบริโภคอาหาร การไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • การทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะอ้วน สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการไปกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อเต้านมให้มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนขึ้น
  • การทานเสริมฮอร์โมนในสตรีวัยทอง
  • ความเครียด

ปัจจัยเสี่ยงที่นอกเหนือการควบคุม

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • มีประวัติครอบครัว หรือญาติโดยตรง เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • มีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนครั้งแรก หลังอายุ 55 ปี
  • มีบุตรคนแรก หลังอายุ 30 ปี

โดยอาการของมะเร็งเต้านม เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณของท่อน้ำนม หรือความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านม หรือในต่อมน้ำนมที่มีการเจริญเติบโตและควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้น กระจายไปตามเซลล์ในร่างกาย หรือตามต่อมน้ำเหลืองที่อวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือบริเวณไหปลาร้า

ระยะของมะเร็งเต้านม

ระยะของมะเร็งเต้านม

อาการความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ ดังนี้

มะเร็งเต้านม ระยะ 0-1

พบเซลล์ผิดปกติภายในเนื้อเยื่อเต้านม และก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร เกิดเฉพาะภายในเต้านม ยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่น

มะเร็งเต้านม ระยะ 2

พบก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ หรืออาจไม่พบก้อนเนื้อเลยก็ได้ แต่มีโอกาสพบเซลล์มะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้

มะเร็งเต้านม ระยะ 3

เนื้อเยื่อเต้านมถูกมะเร็งทำลายกินบริเวณกว้างขึ้น และก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร สามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ และต่อมน้ำเหลืองอื่นในบริเวณใกล้เคียงเต้านม

มะเร็งเต้านม ระยะ 4

มะเร็งแพร่กระจายเข้าหลอดเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ สมอง ปอด กระดูก ระยะนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด

อาการสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่สังเกตได้ด้วยตนเอง

อาการสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่สังเกตได้ด้วยตนเอง

ต้องขอบอกเบื้องต้นก่อนว่า…มะเร็งทุกชนิด รวมถึงมะเร็งเต้านม มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ให้เห็นจนกว่าอาการจะไปถึงขั้นแพร่กระจายสู่ระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการต่อไปนี้เป็นอาการที่ผู้หญิงจะสามารถสังเกตด้วยตนเองได้ และตามสถิติแล้วประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้ มักตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม

  1. ผิวหนังของเต้านมเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่เรียบสนิท มีรอยบุ๋มคล้ายลักยิ้ม รั้งตัว หดตัว หรือเป็นผิวส้ม
  2. คลำเต้านมแล้วพบก้อนเนื้อ หรืออาจพบบริเวณใต้รักแร้ ก้อนเนื้อที่พบจะกดแล้วเจ็บ หรือไม่เจ็บก็ได้
  3. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป ผิดปกติจากเดิม
  4. มีอาการเจ็บเต้านม หรือผิวหนังของเต้านมอักเสบ รวมถึงมีผื่นคันบริเวณเต้านม หรือผิวหนังรอบเต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะตอนคลำพบก้อนเนื้อ
  5. บริเวณเต้านมมีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายสักที
  6. มีของเหลว หรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนม หากลักษณะคล้ายเลือดและไหลออกเพียงรูเดียว ควรตรวจเต้ามนมอย่างละเอียดโดยทันที

ทำอย่างไร? เมื่อพบมะเร็งเต้านม

ทำอย่างไร? เมื่อพบมะเร็งเต้านม

หากสาว ๆ เริ่มเอะใจว่าตัวเองมีความเปลี่ยนแปลงของลักษณะเต้านม อย่าเพิ่งเป็นกังวลมากเกินไป เพราะอย่างที่เราบอกว่ามันมีหลายปัจจัย เราจึงควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจให้ประเมินอาการอย่างละเอียด จะได้มั่นใจว่าอาการที่เป็นอยู่คืออะไรกันแน่ นอกจากนี้แล้วสุขภาพผู้หญิง สำหรับอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ทุก 1-2 ปี

การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายวิธี หากได้รับการวินิจฉัยและระยะของเชื้อมะเร็งแล้ว จะสามารถทราบถึงวิธีการรักษาได้ ซึ่งมีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาต้านฮอร์โมน การฉายรังสี และการใช้เคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอ และปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ป่วยด้วย

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงควรทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เดือนละครั้ง โดยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป หลังหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 7-10 วัน รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่เข้าข่ายมีความเสี่ยง ทั้งจากอาการที่เปลี่ยนแปลง ประวัติครอบครัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพราะเนื่องจากอาการของมะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แท้จริง การป้องกันเต็มประสิทธิภาพจึงทำได้ยาก

เพราะแบบนี้ ผู้หญิงอย่างเราอย่าละเลยสุขภาพกันนะคะ นอกจากนี้เรามา รู้จักการตรวจภายใน เมื่อพบว่ามีผล ’ผิดปกติ’ ควรทำอย่างไร และ ภัยเงียบของผู้หญิง ‘มะเร็งปากมดลูก’ อาการเตือน และวิธีรักษา

SHARE

RELATED POSTS