Search
Close this search box.
อาการแพ้ผ้าอนามัย

อย่ามองข้าม! อาการแพ้ผ้าอนามัย ที่ไม่ปลอดภัยต่อน้องสาว

สาว ๆ เคยมั้ย? เวลามีประจำเดือนมักจะรู้สึกแสบ คันยุบยิบ หรือมีผื่นแดงที่น้องสาว จนรู้สึกกังวล ไม่สบายตัว นั่นอาจเป็น ‘อาการแพ้ผ้าอนามัย’ หากปล่อยไว้น้องสาวจะอักเสบและเป็นแผลได้นะ สำหรับสาว ๆ คนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานี้อยู่ วันนี้ Helena จะมาบอกสาเหตุ และวิธีดูแล เมื่อเกิดอาการแพ้เบื้องต้นกันค่ะ

แพ้ผ้าอนามัย เกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการแพ้ผ้าอนามัยเกิดจากอะไร?

อาการแพ้ผ้าอนามัย เกิดจากส่วนประกอบในผ้าอนามัยทั่วไปจะมีสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองอย่าง น้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือวัสดุใยสังเคราะห์ เมื่อผิวบริเวณน้องสาวสัมผัสก็จะเกิดการเสียดสี ทำให้ระคายเคืองนั่นเอง

นอกจากนี้ การใส่กางเกงชั้นในที่รัดแน่นจนเกินไป รวมถึงใส่ผ้าอนามัยติดต่อกันนาน ๆ ก็ทำให้น้องสาวของเราอับชื้น และเกิดการระคายเคืองได้เช่นเดียวกันนะ

รู้ได้อย่างไร? ว่าเราแพ้ผ้าอนามัยรึเปล่า

เราแพ้ผ้าอนามัยรึเปล่านะ? ถ้าเราใส่ผ้าอนามัยยี่ห้อเดิม หรือเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ แล้วเริ่มมีอาการคันยุบยิบบริเวณน้องสาวทั้งวัน สามารถเอะใจได้เลยว่า ฉันแพ้แน่ๆ ซึ่งอาการแพ้ผ้าอนามัยมีถึง 3 ระดับ มาเช็กกันว่าเราแพ้ระดับไหน! เพื่อเตรียมดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

  • แพ้เบา ๆ  : มีอาการเหนียวเหนอะหนะ ไม่สบายตัว รู้สึกอับชื้นบริเวณน้องสาว
  • แพ้แบบไม่ไหวแล้ว!  : มีอาการคัน และมีผื่นขึ้นเป็นรอยแดง
  • แพ้แบบฮาร์ดคอ : มีอาการแสบ และผิวลอกเหมือนขี้ไคล  ควรรีบไปพบแพทย์
วิธีบรรเทาอาการแพ้ผ้าอนามัยเบื้องต้น

วิธีบรรเทาอาการแพ้ผ้าอนามัยเบื้องต้น

สาว ๆ ที่มีอาการแพ้ผ้าอนามัย สามารถดูแล และบรรเทาบริเวณจุดซ่อนเร้นให้อาการดีขึ้นได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. เลือกใช้ผ้าอนามัยสำหรับผิวแพ้ง่าย ลดอาการแพ้ผ้าอนามัยได้

ถ้ารู้ว่าผ้าอนามัยยี่ห้อเดิมที่ใช้ประจำ หรือเปลี่ยนผ้าอนามัยแล้วมีอาการแพ้เกิดขึ้น ลองหันมาใช้ ผ้าอนามัยออร์แกนิก หรือผ้าอนามัยอ่อนโยนสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ปราศจากน้ำหอมและแอลกอฮอล์

2. แพ้ผ้าอนามัย บรรเทาได้ด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ

เมื่อมีประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยระหว่างวันทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้น้องสาวอับชื้น รวมถึงเลือกใส่กางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อลดการเสียดสีบริเวณผิวหนังที่อักเสบ

3. ดูแลจุดซ่อนเร้นให้สะอาด

ควรหมั่นดูแลความสะอาดของน้องสาวด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์ เมื่อล้างเสร็จแล้วควรใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้งเบา ๆ

4. หลีกเลี่ยงการเกา

หากรู้สึกคัน ไม่ควรเกาให้แผลอักเสบเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ใช้น้ำแข็งประคบเบา ๆ หรือนั่งแช่น้ำอุ่น ประมาณ 5-10 นาที เพื่อบรรเทาอาการ ที่สำคัญ! อย่าลืมซับน้องสาวให้แห้งด้วยนะคะ จะได้ไม่อับชื้น

5. เลือกและทำความสะอาดกางเกงชั้นในให้ถูกต้อง

กางเกงชั้นในก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกชั้นในที่มีคุณภาพ ไม่รัดแน่น ระบายอากาศได้ดี ที่สำคัญควรซักกางเกงชั้นในให้สะอาด และตากแดดให้แห้งสนิท หากตากในพื้นที่ร่มก็อาจทำให้เกิดเชื้อรา และอับชื้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

6. ถ้าอาการแพ้ผ้าอนามัยไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หากเริ่มมีอาการคัน สามารถซื้อยาลดอาการคันตามร้านขายยาได้ โดยจะต้องปรึกษาอาการกับเภสัชกร และทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ถ้าใครที่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น มีผื่นแดงบวม ตุ่มน้ำขึ้น มีแผลถลอก หรือปวดแสบขณะปัสสาวะ แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ และรักษาอย่างตรงจุดจะดีกว่านะคะ

วิธีดูแลน้องสาวช่วงมีประจำเดือนให้ถูกต้อง

หมดปัญหาแพ้ผ้าอนามัย

กับวิธีดูแลน้องสาวช่วงมีประจำเดือนให้ถูกต้อง

การดูแลจุดซ่อนเร้นช่วงมีประจำเดือนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษนะคะสาว ๆ เพราะหากทำความสะอาดไม่ถูกต้องก็จะให้ทำอับชื้น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เกิดอาการคัน และอาจทำให้ช่องคลอดติดเชื้อได้ ดังนั้นเราจะพาไปดูวิธีดูแลบริเวณน้องสาวให้สะอาดและปลอดภัยกัน!

  1. ควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ โดยล้างอย่างเบามือ และเช็ดให้แห้ง หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ทำความจุดซ่อนเร้นที่มีฤทธิ์อ่อน มีค่า pH 3.8-4.5 ปราศจากน้ำหอม และแอลกอฮอล์
  2. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้น้องสาวสะอาดและไม่อับชื้น
  3. หลังปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันช่องคลอดติดเชื้อ

แนะนำ ‘ผลิตภัณฑ์ทางเลือก’ ลดอาการแพ้ผ้าอนามัย

สาว ๆ คนไหนที่ไม่อยากมีอาการแพ้ผ้าอนามัย Helena ขอแนะนำให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอย่าง ถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยออร์แกนิก และกางเกงอนามัยแทน ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และไม่ระคายเคืองต่อน้องสาวอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ทางเลือก ลดอาการแพ้ผ้าอนามัย

ไอเทมยุคใหม่ที่สาว ๆ เลือกใช้แทนผ้าอนามัย เป็นอุปกรณ์ถ้วยอนามัยที่ทำมาจากซิลิโคนทางการแพทย์ ปลอดภัยต่อช่องคลอด สามารถรองรับประจำเดือนได้ถึง 6-12 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับปริมาณมามาก-มาน้อย) ล้างทำความสะอาดนำกลับมาใช้ซ้ำได้ มีอายุการใช้งาน 5-10 ปี การใช้ถ้วยอนามัยช่วยให้คล่องตัว ไม่อับชื้น ไม่เหนอะหนะ ที่สำคัญช่วยลดกลิ่นอับได้ด้วย

2. ผ้าอนามัยออร์แกนิก

หากใช้ผ้าอนามัยทั่วไปแล้วมีอาการแพ้ผ้าอนามัย เราแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้ผ้าอนามัยออร์แกนิก ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติอย่าง คอตตอน และใยไม้ไผ่ ที่ปราศจากสารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์ และสารสังเคราะห์กลิ่นสีต่าง ๆ แทน เพราะจะช่วยลดการระคายเคือง และซึมซับได้ดีไม่แพ้ผ้าอนามัยปกติเลย

3. กางเกงอนามัย

อีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ ในวันที่มีประจำเดือน ‘กางเกงอนามัย’ จะช่วยซับประจำเดือนของเราได้อย่างอยู่หมัด แถมยังซักทำความสะอาดง่าย  แต่เวลาเลือกซื้อสาว ๆ จะต้องดูคุณสมบัติว่าสามารถใส่ได้โดยไม่ต้องใส่ผ้าอนามัยเสริม หรือเป็นรุ่นที่ต้องใส่ผ้าอนามัยทับ เพราะประจำเดือนในแต่ละวันของเรามาปริมาณไม่เท่ากัน ควรเลือกใส่ให้เหมาะสมนะคะ

อาการแพ้ผ้าอนามัย มักจะเกิดกับคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย ดังนั้น สาว ๆ ก็ควรที่จะดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเป็นประจำไม่ว่าจะอยู่ในช่วงมีประจำเดือนหรือไม่ก็ตาม รวมถึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ไม่ระคายเคืองต่อน้องสาว ป้องกันการแพ้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันดีกว่า เพื่อจะได้ใช้ชีวิตประจำวันในวันแดงเดือดได้อย่างไร้กังวล

SHARE

RELATED POSTS