รู้จัก Imposter Syndrome คืออะไร? ปัญหาสุขภาพจิตของคนคิดว่าไม่เก่งพอ

สาว ๆ เคยรู้สึกไหมว่าตัวเองไม่เก่งอะไรเลย ทำอะไรก็ไม่ดี ประสบความสำเร็จทั้งทีก็ยังไม่พอใจ ความรู้สึกเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าปัญหาสุขภาพจิตกำลังคืบคลานมาใกล้คุณแล้ว วันนี้ Helena จะพาสาว ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกันว่า Imposter Syndrome คืออะไร ทำไมเราถึงรู้สึกแย่กับตัวเอง พร้อมทั้งวิธีรับมือเมื่อมีอาการเช่นนี้

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนทั่วโลกหันมาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต โดยในยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันสูงอย่างปัจจุบัน โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง หรือ Imposter Syndrome คือหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม จากข้อมูลของ สสส. เผยว่า การใช้โซเชียลมีเดียส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจถึง 99% เนื่องจากเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้คนเกิดการตั้งคำถามต่อคุณค่าในตัวเองจากการเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

Imposter Syndrome คืออะไร?

โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง หรือ Imposter Syndrome คืออาการทางจิตเวชที่ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตนเองไร้ประสิทธิภาพ ทำอะไรไม่เก่ง หรือขาดความมั่นใจ โดยจากการสำรวจพบว่าผู้หญิงถึง 62% รู้สึกขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต และมีแนวโน้มในการเกิดภาวะ Imposter Syndrome มากกว่าผู้ชาย

นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Imposter Syndrome คือภาวะที่สาว ๆ ทุกคนควรเฝ้าระวัง ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้า หนึ่งในโรคด้านสุขภาพจิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมกว่า 1.3 ล้านราย อ้างอิงจากข้อมูลของ สสส.

 

Imposter Syndrome คืออาการที่เกิดขึ้นได้กับใครบ้าง?

Imposter Syndrome คือภาวะที่ก่อตัวจากความคาดหวังต่อตนเอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งคนที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มคนที่มีแนวโน้มเกิด Imposter Syndrome มีดังนี้

1. ชอบความสมบูรณ์แบบ

ธรรมชาติของคนสาย Perfectionist มักจะยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ และเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่คาดคิดไว้ ก็จะเกิดความผิดหวัง หรือขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง

2. ไม่มั่นใจ เราทำไม่ได้หรอก

คนกลุ่มนี้จะมีอาการวิตกกังวลกับสิ่งที่ทำอยู่ เนื่องจากกลัวว่าลงมือทำแล้วจะเกิดความผิดพลาด หรือทำงานไม่สำเร็จ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ หรือพบเจอการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะมีการเตรียมพร้อมที่ดีก็ตาม

3. เก่งโดยธรรมชาติ

คนกลุ่มนี้เกิดมาพร้อมพรสวรรค์ที่มักจะทำอะไรสำเร็จตั้งแต่ต้น จนเคยชินกับความสำเร็จ จึงเกิดการตั้งคำถาม และมองว่าตนเองไม่เก่งเมื่อต้องพบเจอความล้มเหลว

4. ผู้รู้ ผู้สามารถ

คนสายนี้จะมีความสามารถ และเชี่ยวชาญในบางสิ่ง จนได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง แต่การชื่นชมนั้นกลับกลายมาเป็นแรงกดดัน และไม่เชื่อว่าการยอมรับนั้นเป็นเรื่องจริง

5. คนบ้างาน

คนลุ่มนี้มักจะทำงานอย่างหนัก เพราะคาดหวังผลงานที่ดีขึ้น แต่ต่อให้ผลงานออกมาดีแล้ว ก็ยังไม่พอใจกับผลลัพธ์ และเชื่อว่าตนต้องทำได้ดีกว่านี้

6. สายลุยเดี่ยว

คนกลุ่ม One Man Show มักจะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากคิดว่าการพึ่งพาคนอื่น คือตนเองยังไม่มีความสามารถพอ

Imposter Syndrome คืออาการที่แก้ไขได้ เพียงเริ่มต้นที่ตนเอง

สาว ๆ ที่กำลังเผชิญกับอาการคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ควรเริ่มต้นด้วยการยอมรับความจริงว่า Imposter Syndrome คือภาวะที่สามารถรับมือและแก้ไขได้ ด้วยความรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อต่อสู้ Imposter Syndrome ได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง

1. วางแผนอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การวางแผนระยะยาวช่วยให้สาว ๆ มองเห็นภาพรวมว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อลดการกดดันตนเองให้พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสั้น พร้อมทั้งยอมรับว่าหลายอย่างจำเป็นต้องใช้เวลา

2. จดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น

การจัดบันทึกนอกจากช่วยให้สาว ๆ ได้มีสมาธิจดจ่อ ยังเป็นการช่วยให้ได้ทบทวนความคิด ความรู้สึกของตนเอง ผ่านการค้นหาสิ่งดี ๆ ในแต่ละวัน พร้อมทั้งขจัดความคิดเชิงลบที่ไม่สมเหตุสมผลออกไป

3. ยอมรับความผิดพลาด

ถึงแม้ว่าความผิดพลาดจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่การเกิดข้อผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเรียนรู้และยอมรับในความผิดพลาดจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาตนเอง

4. สื่อสารกับคนรอบข้าง

การพูดคุยกับคนรอบตัว หรือเพื่อนร่วมงานเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้สาว ๆ ได้ผ่อนคลาย และหาทางออกร่วมกันได้ พร้อมทั้งยอมรับว่าบางปัจจัยเราไม่สามารถก้าวข้ามเพียงลำพังได้ และมีคนรอบข้างพร้อมสนับสนุน

5. รับฟังความเห็นอย่างเปิดใจ

อีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยสาว ๆ พัฒนาตนเองให้รอดพ้นจาก Imposter Syndrome คือการเปิดใจและรับฟังความคิดเห็น หรือคำติชมจากคนที่ไว้ใจ เพื่อให้ได้รู้ถึงข้อดี และข้อบกพร่องในการนำไปเพิ่มคุณค่าและความมั่นใจในตนเอง

6. ยอมรับปัจจัยภายนอก

บ่อยครั้งที่ความสำเร็จประกอบขึ้นด้วยหลายปัจจัยนอกเหนือจาก ‘ตัวเรา’ เช่น ช่วงเวลา เพื่อนร่วมงาน การมองเห็นปัจจัยภายนอกเหล่านี้

7. หยุดเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น

สิ่งเร้าสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ Imposter Syndrome คือการเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ที่ทุกคนมักจะเผยแต่สิ่งดี ๆ หรือความสำเร็จในชีวิตให้เห็นเท่านั้น แต่ในความจริงแล้วผู้คนเหล่าอาจผ่านความยากลำบาก หรือกำลังเผชิญกับปัญหาไม่ต่างกับเรา

ทำอย่างไรดีเมื่อรู้สึกว่า Imposter Syndrome คือสิ่งที่หนักหนาเกินรับไหว

หากวันใดที่สาว ๆ กำลังรู้สึกว่า Imposter Syndrome คือปัญหาที่เราต่อสู้ไม่ไหว หรือกำลังทำร้ายสุขภาพจิตอยู่ ทุกคนไม่ควรปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำนานเกินไป และควรเข้ารับคำปรึกษาทางสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญในทันที ซึ่งสามารถเข้ารับบริการทางสุขภาพจิตในช่องทางที่สะดวก ตามแหล่งให้บริการที่ทาง สสส. ได้แนะนำไว้ ดังนี้

1. สายด่วนสุขภาพจิต 1323

สายด่วนสุขภาพจิต เป็นบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตทางโทรศัพท์โดยนักจิตวิทยา ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งเปิดให้บริการฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึง มีอีกช่องทางใหม่คือ Line@1323forthai ซึ่งสามารถขอรับคำปรึกษาออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย

ในปัจจุบัน มีหน่วยงานที่ให้บริการสุขภาพจิตภายในสังกัดกรมสุขภาพจิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

3. Line@ คุยกัน:KhuiKun

ในปัจจุบัน มีหน่วยงานที่ให้บริการสุขภาพจิตภายในสังกัดกรมสุขภาพจิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

เมื่อได้ทำความรู้จักกันแล้วว่าโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง หรือ Imposter Syndrome คืออะไร สาว ๆ อย่าลืมมาสังเกตตัวเองกันนะว่าตอนนี้มีอาการเข้าข่ายหรือไม่ แล้วมาหยุดความรู้สึกเหล่านี้ก่อนจะสาย…พร้อมป้องกันสุขภาพจิตให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน