โรคนอนเกิน

นอนเท่าไรก็ไม่พอ
แค่ขี้เซาหรือเป็น ‘โรคนอนเกิน’

สาวๆ ขี้เซา ที่หัวถึงหมอนแล้วหลับได้ทันที อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไป นี่อาจไม่ใช่ความโชคดีอย่างที่คิด แน่นอนว่าการนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญ เพราเปรียบเสมือนเป็นวิตามินบำรุงร่างกาย สมอง และจิตใจ แต่รู้หรือไม่ว่า ? …

ระยะเวลาในการนอนที่มากเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ หากสาวๆ พบว่าตัวเองเป็นคนขี้เซาที่ใช้เวลานอนเยอะมาก รวมถึงหลังจากตื่นนอนแล้วก็ยังง่วงอยู่ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ‘โรคนอนเกิน’ (Hypersomnia) ได้ ว่าแล้วก็มาทำความรู้จักกับโรคนอนเกินพร้อมเคล็ดการนอนอย่างสุขภาพดีกันได้เลย

นอนมากแบบนี้เป็นโรคหรือเปล่านะ?

โรคนอนเกิน เกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกอย่างการอดนอนมาเป็นเวลานานจนนอนไม่พอ การเดินทางข้ามประเทศที่ช่วงเวลาต่างกันมากๆ ภาวะการหยุดหายใจตอนนอนหลับ (นอนกรน) เคยได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือการรับประทานยาแก้แพ้ที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน

ถ้าพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการเหล่านี้มากกว่า 5 ข้อ ก็อาจจะเข้าข่ายอาการของโรคนอนเกินได้ จึงควรหันมาใส่ใจเรื่องการนอนหลับให้มากขึ้น เพราะการนอนมากเกินไปอาจเกิดผลเสียมากกว่าที่คิด

ผลเสียจากการนอนมากเกินไป

‘สมองทำงานช้า’ พอสมองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

‘อ้วนง่าย’ การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน

‘มีบุตรยาก’ ผลจากการศึกษาผู้หญิงเกาหลีใต้ ในปี 2013 พบว่าผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเกิด ‘ภาวะมีบุตรยาก’ กว่าคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง ถึง 650 คน เพราะฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี

‘ตายเร็ว’ คนที่หลับง่ายและนอนนานๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%

‘โรคซึมเศร้า’ ในปี 2012 ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมง นั้นจะมีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลงเพราะสารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%

เมื่อรู้ว่ามีผลเสียอย่างงี้แล้ว เรามาปรับพฤติกรรมการนอนกันดีกว่า ว่าแล้วก็ตามมาดูทริคที่ช่วยให้สาวๆ นอนหลับได้อย่างมีสุขภาพดีกันเถอะ

เคล็ด (ไม่) ลับ การนอนหลับในแบบฉบับคนสุขภาพดี

มีตารางเวลาที่แน่นอน

พยายามตื่นและนอนให้ตรงเวลา เมื่อตื่นแล้วต้องลุกเลยอย่าต่อเวลา ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่านอนตอนกลางวัน ถ้าจำเป็นต้องนอน ให้งีบซึ่งไม่ควรนานเกิน 20 นาที

เลือกกิจกรรมก่อนนอนให้เหมาะสม

หากิจกรรมทำก่อนนอนอย่างอ่านหนังสือ หรือหวีผมเพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เป็นไปได้ช่วงก่อนเข้านอน 30 นาที ให้งดกิจกรรมที่ทำให้ตื่นตัวอย่างการดูหนัง ฟังเพลง และเล่นโทรศัพท์

อย่าลืมควบคุมอาหาร

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ คาร์โบไฮเดรตหรืออาหารจำพวกแป้ง เพราะถ้าทานมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงได้ และช่วงก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง ไม่ควรทานอาหารให้อิ่มเกินไป

กฎการนอน 90 นาที

‘กฎการนอน 90 นาที’ สมองของเราตอนหลับจะแบ่งการทำงานทั้งหมดเป็นสามระยะ ตั้งแต่ระยะตื่นง่ายไปจนถึงหลับลึก และถ้าต้องการที่จะให้ตื่นง่าย และสดชื่น จะใช้เวลาทั้งหมด 90 นาที ต่อรอบ ซึ่งเวลาที่เหมาะกับการนอนคือประมาณ 5 รอบ อย่างเช่นถ้าต้องการจะตื่นตอน 6 โมงเช้า ให้เข้านอนตอน 21.00, 22.30 หรือ 24.00 หรือถ้าใครคำนวณไม่เก่ง ก็มีโปรแกรมคำนวณการนอนหลับ แค่กรอกเวลาที่ต้องการตื่นนอน

สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีระเบียบวินัยกับตัวเอง พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบและสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ ก็ไม่ต้องกังวลถึงผลเสียเรื่องการนอนอีกต่อไป หากลองปรับพฤติกรรมแล้วยังมีอาการของโรคอยู่ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างจริงจัง แต่ถ้าทำปรับพฤติกรรมแล้วแต่ยังมีอาการของโรคนอนเกินอยู่ หรือมีความผิดปกติที่มากขึ้น แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาต่อไป

การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้ามากเกินไปนั้นก็ย่อมมีผลเสียร้ายแรงที่ตามมามากกว่าผลดีแน่นอน ฉะนั้นสาวๆ ไม่ควรเพิกเฉยต่อการนอนที่ผิดปกติของตัวเอง เริ่มปรับพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ เพื่อตื่นมารับเช้าวันใหม่ด้วยความสดใส เป็นตัวเองที่มั่นใจ เฮลทตี้ได้ทุกวัน

ที่มา :

https://www.honestdocs.co/lack-of-sleep-disease

https://officemate.blog/กฏการนอนหลับ90นาที/

https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/knowledge-about-sleep

SHARE

RELATED POSTS